การใช้ May และ Might ต่างกันอย่างไร

การใช้ May และ Might ต่างกันอย่างไร

May และ Might เป็นอีกหนึ่งคู่คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ทำให้เกิดความสับสน ความหมายและวิธีการใช้ของคำคู่นี้ เรียกได้ว่าเหมือนกันอย่างกับแกะ ในบทเรียนนี้จะอธิบายถึงความหมายของคำว่า May และ Might รวมถึงเมื่อไหร่ที่ควรเลือกใช้ May หรือเมื่อไหร่ที่ควรเลือกใช้ Might มีโครงสร้างประโยคและวิธีการใช้อย่างไร

ความหมายของ May และ Might

  • May และ Might มีความหมายเหมือนกันคือหมายถึง “อาจจะ” หรือน่าจะ
  • ใช้ในประโยคที่ผู้พูดยังไม่แน่ใจว่าเหตุการณ์ที่พูดถึงนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่
  • May และ Might ยังสามารถใช้ในประโยคการขออนุญาต หรือ การอวยพร โดยไม่ได้มีความหมายเกี่ยวข้องกับคำว่า “อาจจะ” เลย

หัวข้อในบทเรียน

ในบทเรียนนี้จะอธิบายถึง การใช้ May และ Might ใน 5 หัวข้อ ได้แก่

  1. การใช้ May และ Might ในความหมายว่า “อาจจะ”
  2. การใช้ May และ Might ในการขออนุญาต ให้อนุญาต ไม่ให้อนุญาต และร้องขอ
  3. การใช้ May ในการอวยพร
  4. โครงสร้างประโยค
  5. สรุป

1. การใช้ May และ Might ในความหมายว่า “อาจจะ”

จากความหมายของคำว่า May และ Might ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนมากที่สุดคือ การใช้ May กับ Might ที่หมายถึง “อาจจะ” ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ตัวอย่างประโยค

I may go to the party tonight.
ฉันอาจจะไปงานปาร์ตี้คืนนี้

I might go to the party tonight.
ฉันอาจจะไปงานปาร์ตี้คืนนี้

จากตัวอย่างประโยค จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ประโยคมีความหมายที่เหมือนกันคือ “ฉันอาจจะไปงานปาร์ตี้คืนนี้” แตกต่างกันแค่ที่ ประโยคแรกเลือกใช้ May และ ประโยคที่สองเลือกใช้ Might

ความแตกต่างของทั้ง 2 ประโยคคือ ประโยคที่เลือกใช้ May จะบ่งบอกว่าเหตุการณ์ที่พูดถึง มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น มากกว่าประโยคที่ใช้ Mightในทางตรงกันข้าม ประโยคที่เลือกใช้ Might จะบ่งบอกความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นน้อย และน้อยกว่าประโยคที่ใช้ May นั่นเอง

การใช้ May และ Might ต่างกันอย่างไร

เราจึงสรุปได้ว่า May และ Might มีความหมายที่หมายถึง “อาจจะ” เหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่ที่เมื่อใช้ May จะให้ความรู้สึกว่าประโยคที่พูดถึง มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าประโยคที่ใช้ Might บางบทเรียนอาจใช้เปอร์เซนต์เข้ามาอธิบายโอกาสเกิดขึ้น 70% ใช้ May ถ้าโอกาสเกิดขึ้น 30%-40% ใช้ Might

หมายเหตุ: ในปัจจุบันมีคนจำนวนมากใช้ May กับ Might ในความหมายที่ไม่ต่างกัน กล่าาวคือ ไม่ว่าจะใช้ May หรือ Might โอกาสที่จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นเท่ากัน

ประโยคปฏิเสธ

เมื่อใช้ในประโยคปฏิเสธ เราสามารถใช้ May not หรือ Might not เช่น

I may not go to the party tonight.
ฉันอาจจะไม่ไปงานปาร์ตี้คืนนี้

May have หรือ Might have ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีต

เมื่อพูดถึงเหตุการณ์ในอดีต เราจะใช้ May have หรือ Might have

She might have taken the keys before going to work.
เธอน่าจะหยิบกุญแจออกมาก่อนที่จะไปทำงาน

ประโยคนี้พูดถึงเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดในอดีต เธอออกมาทำงานแล้ว แต่ลืมกุญแจไว้ที่บ้าน
ผู้พูดเลยบอกว่าน่าจะหยิบกุญแจมาด้วยก่อนออกมาทำงาน

He may have bought this car, if he won the lottery.
เขาอาจจะซื้อรถคันนี้ ถ้าเขาถูกหวย

ประโยคนี้พูดถึงเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดในอดีตเช่นเดียวกัน ถ้าเขาถูกหวย เขาคงซื้อรถคันนี้ไปแล้ว เรื่องนี้ผ่านไปแล้ว

หมายเหตุ: Might คือรูปที่เป็นอดีตของ May เมื่อก่อนเราอาจแยกว่าถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นในอดีต ใช้ Might เหตุการณ์เกิดขึ้นในปัจจุบันใช้ May แต่ปัจจุบัน คนนิยมใช้ทั้ง May และ Might ไม่ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในอดีต หรือปัจจุบัน

2. การใช้ May และ Might ในการขออนุญาต ให้อนุญาต ไม่ให้อนุญาต และร้องขอ

เราสามารถใช้ May และ Might ในประโยคการขออนุญาต ให้อนุญาต หรือร้องขอสิ่งที่ต้องการ แต่โดยทั่วไปแล้ว เรามักใช้ May มากกว่า Might

ขออนุญาต

May I borrow your pen? / Might I borrow your pen?
ฉันขอยืมปากกาของเธอหน่อยได้ไหม

May I come in? / Might I come in?
ฉันขออนุญาตเข้าไปหน่อยได้ไหน (ขออนุญาตเข้าห้องเรียน เป็นต้น)

ร้องขอ

May I speak to Jack, please? / Might I speak to Jack, please?
ฉันขอคุยกับแจ็คหน่อยได้ไหม (ใช้กับการโทรศัพท์)

ให้อนุญาต

You may use my car tomorrow.
วันพรุ่งนี้คุณใช้รถของฉันได้นะ

ไม่อนุญาต

You may not use my computer.
ฉันไม่ให้คุณใช้คอมพิวเตอร์ของฉัน

3. การใช้ May ในการอวยพร

การอวยพร ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่เราใช้ May ได้ ในประโยคการอวยพร เราจะใช้ May โดยที่ไม่ใช้ Might ประโยคอวยพรที่ใช้ May จะให้ความหมายว่า “ขอให้…”

May you stay healthy and happy.
ขอให้คุณสุภาพแข็งแรงและมีความสุข

May you continue to shine.
ขอให้คุณมีความเจิดจรัสตลอดไป

May all your dreams come true.
ขอให้ความฝันของคุณเป็นความจริงทุกอย่าง

4. โครงสร้างประโยค

จากบทเรียนเรื่อง May และ Might สามารถสรุปออกมาเป็นโครงสร้างประโยคได้ดังนี้

ประโยคโครงสร้างประโยคตัวอย่างประโยค
ประโยคบอกเล่าSubject + may/might + คำกริยา (infinitive)– It might rain tomorrow
– Lisa may come to the party tonight.
ประโยคปฏิเสธSubject + may/might + not + คำกริยา (infinitive)– I may not go to school tomorrow.
– He might not be in his office.
ประโยคที่กล่าวถึง
เหตุการณ์ในอดีต
บอกเล่า
Subject + may have/might have + คำกริยา (v.3)

ปฏิเสธ
Subject + may have/might have + not + คำกริยา (v.3)

*** คำกริยา (v.3) หมายถึงคำกริยาช่องที่ 3
– She might have not missed
the plane. If she woke up early.
ประโยคขออนุญาต
หรือร้องขอ
May + subject + คำกริยา (infinitive)– May I borrow your car?
– May I speak to Mr. Joe?
ประโยคการให้อนุญาต
และไม่ให้อนุญาติ
ประโยคการให้อนุญาตมีโครงสร้างเหมือนกับประโยคบอกเล่า
และในกรณีที่ไม่อนุญาต มีโครงสร้างเหมือนประโยคปฎิเสธ

Subject + may/might + คำกริยา (infinitive)
Subject + may/might + not+ คำกริยา (infinitive)
– You may use my car tomorrow.
– You may not use my phone.

หมายเหตุ: คำกริยา (infinitive) คือคำกริยา (Verb) ที่ไม่เปลี่ยนรูป ไม่ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน เช่น คำว่า eat มีช่องที่ 2 คือ ate ช่องที่ 3 คือ eaten (เมื่อโครงสร้างประโยคกำหนดให้ใช้เป็น Verb (infinitive)) คือต้องใช้คำว่า eat อย่างเดียวเท่านั้นโดยไม่มีการเปลี่ยนรูปตาม tense ใด ๆ

สรุป

  • May และ Might มีความหมายว่า “อาจจะ” เหมือนกัน
  • รูปแบบปฏเสธคือ May not และ Might not หมายถึง “อาจจะไม่”
  • ประโยคที่ใช้ May แสดงความมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมากกว่า Might เช่น I may go to the party และ I might go to the party ทั้ง 2 ประโยคมีความหมายที่เหมือนกันคือ ฉันอาจจะไปงานปาร์ตี้ แต่ประโยคที่ใช้ May บ่งบอกว่ามีความแน่นอนว่าจะไปมากกว่า ประโยคที่ใช้ Might
  • มีคนจำนวนมากใช้ May กับ Might ในความหมายที่ไม่ต่างกัน หมายถึง ไม่ว่าจะใช้ May หรือ Might โอกาสที่จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นเท่ากัน
  • May และ Might ยังใช้ในประโยคการขออนุญาต ให้อนุญาต ไม่ให้อนุญาต และร้องขอ
  • May สามารถใช้ในประโยคการอวยพร ประโยคอวยพรที่ใช้ May จะให้ความหมายว่า “ขอให้…” เช่น May you stay healthy and happy. (ขอให้คุณสุภาพแข็งแรงและมีความสุข)

To top